การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในสมัยก่อนจนมาถึงปัจจุบัน

oil_rig05

ในช่วงแรกๆการจุดไฟให้แสงสว่างจะใช้น้ำมันสัตว์หรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงจนกระทั่งปี 1839 แซมมวล มาร์ติน คีร์ ซึ่งเป็นเจ้าของเหมืองเกลือใกล้เมืองทาเรนตัม รัฐเพนซินวาเนีย พบว่าน้ำเกลือที่เขาสูบขึ้นมามีน้ำมันข้นๆ ดำๆ ปนขึ้นมาด้วย ทำให้สกปรกเขาจึงนำไปทิ้งลงคลอง เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะนำน้ำมันข้นๆ ดำๆ นั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้ ต่อมามีเด็กคนหนึ่งได้โยนคบเพลิงลงคลองเล่น ปรากฏว่าน้ำมันในคลองติดไฟยาวถึงครึ่งไมล์ ผู้คนจึงรู้น้ำมันที่เขาทิ้งลงคลองเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี และเริ่มนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกับตะเกียง ถึงแม้ว่าจะมีควันและเหม็น แต่ก็ให้แสงที่สว่างกว่าและฟรีอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าเมืองทาเรนตัมจึงเป็นเมืองแรกในสหรัฐที่ใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงของตะเกียง

ในปี ค.ศ. 1854 แซมมวล มาร์ติน คีร์ จึงเริ่มหาทางขายน้ำมันของเค้า และพยามแก้ปัญหาเรื่องควันและกลิ่นที่เหม็นของน้ำมัน โดยนำน้ำมันดังกล่าวมากลั่นเพื่อที่จะได้น้ำมันสำหรับตะเกียงอย่างดี เขาผลิตน้ำมันสำเร็จรูปที่เรียกว่า คาร์บอนออยล์ แต่น้ำมันที่ได้ยังมีคุณภาพเลว แม้จะนำมากลั่นถึง 2 ครั้งแล้วก็ตาม ในเวลาไล่เลี่ยกันทนายความหนุ่มคนหนึ่งชื่อ บิเซลล์ ได้เก็บตัวอย่างน้ำมันมาจากลำธาร และส่งตัวอย่างน้ำมันไปให้ศาสตราจารย์ที่มหาลัยเยล วิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์น้ำมันพบว่าน้ำมันนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผลิตผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่างในราคาถูกๆ และง่ายดาย แต่กระนั้นการผลิตน้ำมันดิบก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะต้องคอยตักน้ำมันที่ซึมขึ้นมาจากผิวดิน จึงมีผู้คิดหาวิธีการที่จะขุดน้ำมันขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อเพิ่มผลผลิต

ในสมัยนั้น นับว่าเป็นความร่ำรวยที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน และปีนี้ถือว่าเป็นปีเริ่มต้นของอุตสาหกรรมน้ำมันอีกอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นยังมีการค้นพบน้ำมันทางแถบอื่นของอเมริกาด้วย ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1901 ได้มีการค้นพบที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ การขุดน้ำมันที่แหล่งสปินเดิลทอป ในแถบเมืองบิวมองท์ รัฐเท็กซัส น้ำมันจากใต้ดินพุ่งขึ้นมาเป็นลำสูงขึ้นไปกว่า 100 ฟุต เหนือแท่นเจาะและผลิตได้ 70,000-100,000 บาร์เรลต่อวันทันที อย่างไรก็ตามเมื่อบ่อน้ำมันเริ่มเกิดขึ้น ก็ทำให้โรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้นอีกหลายโรง โรงกลั่นที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกในปี ค.ศ. 1860 ที่ทิทูสวิลล์ แต่ก็ผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้ไม่ถึง 50% ของน้ำมันดิบที่ป้อนเข้าโรงกลั่น ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ได้เป็นน้ำมันตะเกียงและน้ำมันหล่อลื่น ส่วนผลพลอยได้อื่นๆจากการกลั่นน้ำมันดิบ คนสมัยนั้นยังไม่รู้ว่าจะนำมาทำประโยชน์อะไรได้จึงต้องเผาทิ้งไป นับว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

This entry was posted in ธุรกิจ and tagged . Bookmark the permalink.