ผลกระทบน้ำมันปาล์มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

ผลกระทบน้ำมันปาล์มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  AEC
สินค้าเกษตรของไทยที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนประกอบด้วยข้าว กาแฟ และน้ำมันปาล์ม สินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า ราคาจำหน่ายผลปาล์มและน้ำมันปาล์มดิบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาก แต่ผลผลิตปาล์มของไทยกลับมีคุณภาพต่ำกว่า เพราะสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้น้อยกว่า
น้ำมันปาล์มกลายเป็นสินค้าการเมือง การส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทยจึงเป็นไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง โดยเน้นไปในทิศทางการเพิ่มปริมาณการผลิตตามแรงผลักของสถานการณ์ แต่ไม่ใคร่ให้ความสนใจด้านคุณภาพ สังเกตได้จากการส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เช่น การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงาน การจำกัดการนำเข้า การกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มขั้นต่ำมการชดเชยให้ผู้ผลิตจำหน่ายน้ำมันปาล์มในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย โดยพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก และมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นทั้งต่อความมั่นคงทางพลังงานและความมั่นคงทางอาหารของไทย
ความละเลยการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนี้ และการแข่งขันจากการเปิดเสรีทางการค้าที่กำลังจะมาถึง จะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ โดยเวลาที่เหลืออยู่ก่อนที่ AEC จะเปิดเสรีไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยให้แข่งขันได้ ณ เวลานี้เราทำได้แต่เพียงบรรเทาผลกระทบมิให้รุนแรงมากเกินไปเท่านั้น แต่ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จำนวนมากยังขาดความตื่นตัวหรือความเข้าใจถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่รัฐบาลยังไม่ได้ส่งสัญญาณให้ประชาชนทราบถึงภัยคุกคามนี้ หรือมีนโยบายหรือแสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหานี้แต่อย่างใด มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารหรือพลังงานของประเทศและไม่มีสินค้าอื่นที่ทดแทนได้ดีกว่า ก็ควรเร่งพัฒนาในมีความสามารถในการแข่งขัน

This entry was posted in ธุรกิจ and tagged . Bookmark the permalink.