ปัญหาน้ำมันพืชปาล์มและถั่วเหลืองขาดตลาด

ธงฟ้า2ปัญหาน้ำมันปาล์มขาดตลาดและปรับราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยสาเหตุสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง ประจวบเหมาะกับการที่ชาวสวนปาล์มหันไปนิยมปลูกยางพาราแทน เพราะราคายางพารากำลังไปได้สวย ทำให้ผลผลิตจากต้นปาล์มออกมาสู่ตลาดน้อยและสวนทางกับความต้องการที่มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงน้ำมันปาล์มถูกนำไปใช้ในการผลิตในภาคพลังงานทดแทนอย่างอิสระ ทั้งหมดนี้จึงร่วมกันส่งผลให้ราคาปาล์มดิบในท้องตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลไปยังปากท้องของประชาชนคนบริโภคน้ำมันปาล์มกันถ้วนหน้า

สินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่เกิดปัญหาขาดตลาด แม้มีปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากเนื่องจากกลไกตลาดจะเป็นตัวบอกว่าสินค้าไหนมีความต้องการมากขึ้น ผู้ประกอบการก็จะผลิตสินค้าออกมาป้อนตลาดมากขึ้น แต่หากสินค้าไหนความต้องการในตลาดน้อยก็จะมีจำนวนลดลงตามไปด้วย ทำให้ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคไม่เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนหรือมีการซื้อไว้เพื่อกักตุน แต่อาจเกิดขึ้นกับสินค้าที่มีปัญหาไปแล้ว  เนื่องจากการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงมากทำให้ไม่สามารถขึ้นราคาได้ ประกอบกับสินค้าบางตัวอยู่ในการควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ด้วย และผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคทุกรายต้องปรับตัวรับมือต้นทุนสูงขึ้น ด้วยการหันไปลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุดหรือนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทอยู่ในระดับแข็งค่าต่อเนื่องจึงช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้าให้อยู่ในระดับต่ำได้

การปรับขึ้นราคาน้ำมันพืชปาล์มน่าจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นจนอาจมีการซื้อขายน้ำมันถั่วเหลืองในราคาที่สูงกว่าราคาควบคุม และกดดันให้น้ำมันถั่วเหลืองถูกปรับราคาขึ้นตามมา ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่าบางแห่งประสบปัญหาน้ำมันพืชปาล์มและถั่วเหลืองขาดตลาด และหลายแห่งจำกัดการซื้อ ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากการซื้อน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันปาล์ม และอาจมีการกักตุนสินค้า นอกจากนี้ผลกระทบต่อมาที่คาดว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือการทยอยปรับขึ้นราคาของสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้น้ำมันพืชทั้งสองในการผลิต เนื่องจากบทบาทของปาล์มน้ำมันมิได้จำกัดอยู่แค่ในฐานะพืชอาหารเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในฐานะพืชพลังงานในการเป็นวัตถุดิบเพื่อทำไบโอดีเซล ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมับดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของรัฐ

Posted in ธุรกิจ | Tagged , , | Comments Off on ปัญหาน้ำมันพืชปาล์มและถั่วเหลืองขาดตลาด

การใช้ประโยชน์จากถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติ

coal460x276ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบของสารประกอบคาร์บอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และยังมีสารประกอบอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำ เช่น โรงงานกระดาษ และโรงงานชูรส เป็นต้น ในการเผาไหม้ถ่านหินจะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ฝุ่นละออง และควัน ดังนั้น ก่อนนำเชื้อเพลิงไปใช้ต้องมีวิธีการจัดการกับมลพิษก่อน โดยอาจเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดีหรืออาจลดปริมาณสารพิษในถ่านหินก่อนนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือใช้เทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้นก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วทุกภาค ซึ่งเกิดจากซากพืชที่สะสมอยู่ตามแอ่งขนาดใหญ่และภายหลังเกิดการจมตัวของเปลือกโลกและมีตะกอนมาทับถมปิดทับนานหลายล้านปี จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของซากพืชเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กลายเป็นถ่านโดยมีความร้อนใต้เปลือกโลกเข้ามามีส่วนช่วยด้วย ซึ่งคล้ายๆกับวิธีการเผาถ่านในปัจจุบันที่นำไม้ฝืนมาเผาในที่ไม่มีอากาศหรือออกซิเจนจึงได้เป็นถ่านไม้แทนที่จะติดไฟไหม้ กลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไป ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งมีปริมาณสำรองอยู่มาก โดยแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก ทำให้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีความมั่นคงสูง ส่งผลให้มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเตา

ถ่านหินยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการใช้เป็นเชื้อเพลิงของประเทศ เนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีแหล่งสำรองอยู่มาก และราคามีเสถียรภาพ รวมทั้งมีเทคโนโลยีในการจัดการมลพิษที่มีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนจากถ่านหินมาใช้เชื้อเพลิงอื่นโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติจะทำให้สัดส่วนการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสูงมากเกินไป และจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการจัดหาพลังงานของประเทศ เนื่องจากในการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติได้เพียงพอตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า และจะต้องมีการทำสัญญาซื้อขายก๊าซฯที่ผูกพันได้ตลอดอายุของโรงไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันผู้จำหน่ายก๊าซฯ ยังไม่สามารถผูกพันการจัดหาก๊าซธรรมชาติได้ ตลอดอายุของโรงไฟฟ้า ส่วนพลังงานหมุนเวียนอื่นยังมีต้นทุนสูงอยู่มาก เหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมเท่านั้น ยังไม่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักเพื่อผลิตไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ

Posted in ธุรกิจ | Tagged , , | Comments Off on การใช้ประโยชน์จากถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติ

การนำก๊าซธรรมชาติไปประยุกต์ใช้กับกิจการพาณิชย์

กิจการพาณิชย์และบริการ อาทิ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียมและร้านอาหาร โดยทั่วไปนั้น จะตั้งอยู่ในเขตธุรกิจ หรือเขตที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลางถึงความหนาแน่นสูงและมีการใช้พลังงานมากพอสมควร พลังงานที่ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติในลำดับแรก คือ สะอาด ไม่มีมลพิษ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก๊าซธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับพลังงานดังกล่าว เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สะอาด เผผาไหม้สมบูรณ์ ปลอดภัยกว่าเชื้อเพลิงอื่น และไม่มีมลพิษ นอกจากนี้ การขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อจะช่วยลดปัญหาการจราจรจากการขนส่งได้อีกด้วย

ปตท. ได้ขยายโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่เขตธุรกิจของกรุงเทพฯ ทำให้สามารถเพิ่มประโยชน์การใช้งานก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น ในกลุ่มผู้ประกอบการทางด้านการพาณิชย์และการบริการ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งร้านอาหารและบ้านพักอาศัย ประโยชน์ของการใช้งานดังกล่าว อาทิ

– การใช้ก๊าซธรรมชาติในระบบผลิตพลังงานความเย็นร่วมกับไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติ ( Gas District Cooling and Co-generation ) คือ ระบบการผผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศไว้ใช้ภายในอาคารและสำนักงาน ซึ่งมีการนำระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้แล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ท่าอากาศยานสากลโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และท่าอากาศยานสากกัวลาลัมเปอร์แห่งใหม่ ประเทศมาเลเซีย
– การใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนก๊าซหุงต้มในการประกอบอาหาร สำหรับโรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร หรือบ้านพักอาศัย โดยสามารถนำไปใช้ในเตาแก๊ส เตาอบ เตาย่างและหม้อหุงข้าวทุกประเภท
– การใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตน้ำร้อนหรือไอน้ำซึ่งใช้ในธุรกิจโรงแรมธุรกิจซักรีด การฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาล และบ้านพักอาศัย

จุดเด่นของการประยุกต์ใช้ก๊าซธรรมชาติในกิจการพาณิชย์และบ้านพักอาศัย
– เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าและความเย็นโดยรวมได้ถึง 80% ขณะที่ระบบผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 40-50%
– เพิ่มแหล่งทางเลือกการใช้พลังงานของอาคารจากเดิมต้องอาศัยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว ทำให้สามารถเลือกได้ระหว่างการใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือใช้ไฟฟ้า หรือใช้ทั้งสองระบบร่วมกันได้
– ลดการใช้สาร CFC ในระบบทำความเย็นด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
– เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่สามารถนำไปใช้ทดแทนน้ำมันเตาเกรดเอ หรือดีเซล ซึ่งปัจจุบันโรงแรมและโรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตไอน้ำ
– ลดปัญหาและประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งเชื้อเพลิง เนื่องจากก๊าซธรรมชาติจะถูกขนส่งผ่านระบบท่อ และวัดปริมาณซื้อขายผ่านมิเตอร์ที่ออกแบบตามมาตรฐาน ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องกักเก็บเชื้อเพลิง และลดปัญหาการจัดการการขนส่งพลังงาน
– ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้ในด้านการกักเก็บพลังงาน

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on การนำก๊าซธรรมชาติไปประยุกต์ใช้กับกิจการพาณิชย์

การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
การผลิตก๊าซชีวภาพส่วนใหญ่จะแยกตามแหล่งที่มาของน้ำเสีย ได้แก่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ของเสียจากอุตสาหกรรมขยะมูลฝอยและครัวเรือน ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจะใช้กระบวนการย่อยสลายทางชีววิทยาแบบไม่ใช้อากาศ ภายในบ่อหมัก โดยแบ่งตามอัตราการย่อยสลายอินทรีย์ ได้ 2 ระดับ คือ อัตราการย่อยสลายอินทรีย์ต่ำ และสูงสำหรับมูลสัตว์
1. บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบช้า มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ
-แบบโดมคงที่ (Fixed dome digester)
-แบบฝาครอบลอย (Floating drum digester)
-แบบรางขนาน (Plug flow digester) ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
แบบพลาสติกคลุมบ่อดิน (Cover lagoon)
แบบพลาสติกคลุมราง บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบช้าจะต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งอุปกรณ์มาก เพราะต้องใช้เวลาในการกักเก็บน้ำสูง
2. บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบเร็ว (High rate anaerobic reactor)
มีอัตราการย่อยสลายเกิดขึ้นรวดเร็ว เพราะในระบบมีการกวนผสม การกักเก็บและรักษาตะกอนแบคทีเรียที่มีคุณภาพให้อยู่ในระบบเป็นเวลานาน โดยออกแบบให้ตะกอนถูกยึดตรึงไว้กับตัวกลาง หรือการทำให้ตะกอนรวมตัวกันเป็นก้อน และยังมีการนำตะกอนที่หลุดไปกับน้ำล้นกลับมาในระบบ บ่อหมักมีขนาดเล็ก สามารถรับปริมาณของเสียได้มาก ซึ่งบ่อหมักแบบนี้ เหมาะสมที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับน้ำเสียอุตสาหกรรมที่มีปริมาณความเข้มข้นสารอินทรีย์สูง และก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ทดแทนเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้ลดค่าใช้จ่ายการบำบัดให้ต่ำลง ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิง และน้ำเสียที่บำบัดแล้วจะเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้ง
บ่อหมักแบบไร้ออกซิเจนแบบเร็ว จะแบ่งออกเป็น
2.1 แบบ Up-Flow Anaerobic Sludge Blanket (UASB) น้ำเสียจะถูกสูบเข้าก้นถังที่แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง (Sludge bed) เป็นตะกอนเม็ด (granular bacteria) ขนาด 2–5 มม. เป็นแบคทีเรียใยขาวเกาะกันมีความหนาแน่นสูง ส่วนชั้นบนเรียกว่า Sludge blanket ทางด้านบนของบ่อหมัก UASB จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gas Solid Separator ทำหน้าที่แยกก๊าซและป้องกันมิให้ตะกอนแบคทีเรียหลุดออกไปกับน้ำเสีย
2.2 แบบ High suspension solid Up-Flow Anaerobic Sludge Blanket (H-UASB) พัฒนาจากระบบ UASB เพื่อแก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบหัวจ่ายน้ำเนื่องจากตะกอนของมูลสัตว์ มี buffer tank ทำหน้าที่แยกตะกอนแขวนออกจากน้ำเสียและมูลสัตว์ให้มีปริมาณน้อยที่สุด

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

ก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซ

ก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซ
ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ก่อกำเนิดและสะสมตัวอยู่ใต้ผิวโลกนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างโมเลกุลของสารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบ บางแหล่งประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนจำพวกมีเทนอย่างเดียว บางแหล่งประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนผสมกันหลายชนิด อันได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เฮกซ์เซน และอื่น ๆ สัดส่วนขององค์ประกอบเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของก๊าซแต่ละแหล่งที่พบ
ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ดังนั้นกระบวนการแยกจึงมิได้เพียงเพื่อใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีก ก๊าซมีเทนใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตปุ๋ย และอัดใส่ถังใช้เป็นเชื้อเพลิงรถโดยสาร เอ็นจีวี อีเทน และโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งประกอบด้วยโพรเพน และบิวเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถ และอุตสาหกรรม แก๊สโซลีนธรรมชาติ ส่งเข้าโรงกลั่นเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซิน ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จะใช้สำหรับเตาเผา หม้อต้มน้ำ และเครื่องจักรไอน้ำ ส่วนก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก็เพื่อผลิตปุ๋ย พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ และยากำจัดวัชพืช
โรงแยกก๊าซประกอบด้วยกระบวนการหลักและหน่วยต่าง ๆ ดังนี้
1. หน่วยกำจัดสารปรอท เนื่องจากก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีสารปรอทปนเปื้อนอยู่ด้วย ดังนั้นโรงแยกก๊าซจึงต้องมีหน่วยนี้เพื่อกำจัดสารปรอทออกจากก๊าซ
2. หน่วยกำจัดความชื้น เพราะความชื้นหรือไอน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งเมื่อเข้ากระบวนการลดอุณหภูมิลงต่ำ ๆ ซึ่งจะทำให้ท่ออุดตัน ไอน้ำถูกกำจัดด้วยวิธีทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการกรองโมเลกุล
3. หน่วยแยกมีเทน อีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการลดความดันและอุณหภูมิลงแล้วจะผ่านหอแยกนี้ ก๊าซส่วนบนสุดของหอกลั่นคือก๊าซเชื้อเพลิง ได้แก่ มีเทน และอีเทน ซึ่งเมื่อแยกออกมาแล้วจะส่งเข้าท่อต่อไปให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.
4. หอแยกแอลพีจี และเอ็นจีแอล ภายในหอนี้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี ถูกแยกออกมาจากส่วนบน ในขณะที่ของเหลวคือ แก๊สโซลีนธรรมชาติหรือเอ็นจีแอล จะอยู่ก้นหอและถูกส่งไปลงถังเก็บเพื่อรอการขนส่งต่อไป
5. หน่วยกำจัดก๊าซไข่เน่า กระบวนการนี้เป็นกระบวนการทำความสะอาดเพื่อแยกกำมะถันออกจากก๊าซแอลพีจี เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ หลังจากผ่านการทดสอบในห้องปฎิบัติการ ก๊าซแอลพีจี จะถูกส่งไปยังถังเก็บเพื่อรอการขนส่งทางรถและทางเรือ

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซ

ผลกระทบน้ำมันปาล์มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

ผลกระทบน้ำมันปาล์มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  AEC
สินค้าเกษตรของไทยที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนประกอบด้วยข้าว กาแฟ และน้ำมันปาล์ม สินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า ราคาจำหน่ายผลปาล์มและน้ำมันปาล์มดิบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาก แต่ผลผลิตปาล์มของไทยกลับมีคุณภาพต่ำกว่า เพราะสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้น้อยกว่า
น้ำมันปาล์มกลายเป็นสินค้าการเมือง การส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทยจึงเป็นไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง โดยเน้นไปในทิศทางการเพิ่มปริมาณการผลิตตามแรงผลักของสถานการณ์ แต่ไม่ใคร่ให้ความสนใจด้านคุณภาพ สังเกตได้จากการส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เช่น การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงาน การจำกัดการนำเข้า การกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มขั้นต่ำมการชดเชยให้ผู้ผลิตจำหน่ายน้ำมันปาล์มในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย โดยพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก และมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นทั้งต่อความมั่นคงทางพลังงานและความมั่นคงทางอาหารของไทย
ความละเลยการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนี้ และการแข่งขันจากการเปิดเสรีทางการค้าที่กำลังจะมาถึง จะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ โดยเวลาที่เหลืออยู่ก่อนที่ AEC จะเปิดเสรีไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยให้แข่งขันได้ ณ เวลานี้เราทำได้แต่เพียงบรรเทาผลกระทบมิให้รุนแรงมากเกินไปเท่านั้น แต่ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จำนวนมากยังขาดความตื่นตัวหรือความเข้าใจถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่รัฐบาลยังไม่ได้ส่งสัญญาณให้ประชาชนทราบถึงภัยคุกคามนี้ หรือมีนโยบายหรือแสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหานี้แต่อย่างใด มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารหรือพลังงานของประเทศและไม่มีสินค้าอื่นที่ทดแทนได้ดีกว่า ก็ควรเร่งพัฒนาในมีความสามารถในการแข่งขัน

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ผลกระทบน้ำมันปาล์มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

การเติบโตของตลาดน้ำมันระหว่างประเทศต่างๆ

พลังงานต่างๆมีความสำคัญต่อมนุษย์ หากขาดพลังงานเมื่อไรจะมีผลต่อการอยู่รอดของมนุษย์ทันที ปัจจุบันมีพลังงานมากมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคงจะเป็น พลังงานน้ำมัน

พลังงานกำลังจะหมดไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดการแย่งชิงการเป็นเจ้าของในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐกำลังจะเปิดศึกรับอิรัก โดยมีฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมัน และจีนประกาศขยายน่านน้ำห่างฝั่งหลายพันไมล์ ไปจนจดชายฝั่งอินโดนีเซีย ก็เพราะหวังครอง แหล่งน้ำมันในทะเลจีนใต้ โดยมีตลาดกลางในการส่งออกคือนครฮิวสตันเท็กซัส

การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มตาม ในทางตรงกันข้าม ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือภาวะถดถอย กิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง ความต้องการน้ำมันดิบก็จะลดลง และท้าให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามไปด้วย

ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละประเทศแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว ความต้องการน้ำมันเพื่อสร้างความอบอุ่นจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในปีที่อากาศหนาวเย็นรุนแรงกว่าปกติ และในฤดูร้อนความต้องการด้านเชื้อเพลิงในการท่องเที่ยวก็สูงมากขึ้นด้วย

ในขณะนี้เริ่มมีการสร้างพลังงานเพื่อทดแทนน้ำมันที่สูญเสียไป ลดการใช้พลังงานน้ำมันดิบ และลดการทำสงครามช่วงชิงน้ำมันระหว่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันของประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานร่วมขึ้นชื่อ Economic Liaison Committee ทำหน้าที่รับผิดชอบเปิดการเจรจาทางการทูต กับประเทศตะวันออกกลางและเขตอื่นๆ เพื่อสนับสนุนบริษัทน้ำมันของสหรัฐฯ ให้สามารถแข่งขันกับบริษัททางยุโรปได้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำมัน

ในปัจจุบันประเทศไทยต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การยกเลิกการควบคุมราคา การเพิ่มบทบาทเอกชน รัฐบาลควรจะเปิดโอกาสให้การพัฒนาตลาดพลังงานที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการกำหนดแนวนโยบายความมั่นคงด้านพลังงาน ดำเนินไปโดยไม่มีการแทรกแซง และร่วมกันส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้ว่าสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อตลาดพลังงานน้ำมันอย่างไร  และพัฒนานโยบายความมั่นคงให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงด้านการตลาดให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ

 

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on การเติบโตของตลาดน้ำมันระหว่างประเทศต่างๆ

ปัจจัยความผันผวนของราคาน้ำมันในอุตสาหกรรมไทย

eagle-os.comราคาของตลาดอุตสาหกรรมน้ำมันจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น และราคาขายปลีก ทำให้ราคามีการขึ้นลงอยู่ตลอดตามต้นทุนที่เปลี่ยนไปหรือการประกาศราคาของโรงกลั่น โดยช่วงก่อนยกเลิกควบคุมราคาขายปลีก แม้รัฐบาลจะควบคุมราคาขายปลีกให้อยู่ในระดับคงที่เป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ในความเป็นจริง การกำหนดราคาของโรงกลั่นมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ตามราคาตลาดโลกที่เปลี่ยนไป

ถึงแม้รัฐจะแก้ปัญหาด้วยการใช้ระบบกองทุนน้ำมันเพื่อรักษาราคาขายส่งให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ซึ่งโรงกลั่นจะเป็นผู้กำหนดราคา จึงทำให้ราคาขายปลีกมีการเปลี่ยนแปลงมาก อีกทั้งน้ำมันในไทยยังจำเป็นต้องนำเข้าเชื้อเพลิงในรูปแบบของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วน ดังนั้นราคาน้ำมันในไทยจะขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นสำคัญ

เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยรัฐกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น และอัตรากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแต่ละชนิด ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้า จึงใช้หลักการของความเสมอภาคในการนำเข้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตและผู้นำเข้าโดยหลักเกณฑ์การกำหนดราคาจะอ้างอิงตามการเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดน้ำมันที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปในช่วงดังกล่าว

ตลาดในสหรัฐอเมริกา ตลาดยุโรป ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดสิงคโปร์ เป็นตลาดที่เป็นตัวแทนในการซื้อขายหรือตกลงราคาน้ำมันของภูมิภาคนั้นๆ โดยคิดราคาจากความต้องการและปริมาณในการผลิตในภูมิภาคนั้นๆ จึงปรับตัวเคลื่อนไหวไปในทิศทางและระดับเดียวกัน นอกจากนั้นแล้ว อุปสงค์และอุปทานในภูมิภาคนั้นๆ ยังมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันสำเร็จรูปในบางตลาดอาจปรับตัวแตกต่างจากตลาดอื่น

ในปัจจุบันการที่โรงกลั่นต้องแข่งขันการนำเข้าจากต่างประเทศ ภาวะกำลังการกลั่นล้นตลาดของภูมิภาค ก็มีผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของภูมิภาคเอเซียอยู่ในภาวะอ่อนตัวเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย ทำให้การกำหนดราคาน้ำมันของโรงกลั่นและผู้ค้าส่งไม่สามารถตั้งราคาสูงได้ ทำให้ต้องขาดสภาพคล่องและประสบปัญหาขาดทุนตามมาในภายหลัง

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ปัจจัยความผันผวนของราคาน้ำมันในอุตสาหกรรมไทย

เชื้อเพลิงอุตสาหกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมไทย

ปตท. เป็นผู้นำในการให้บริการผลิตภัณฑ์มากมายเพื่อการอุตสาหกรรมพร้อมผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำในการบำรุงรักษาอุปกรณ์และการเลือกใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ

1. น้ำมันเตาชนิดที่ 1 หรือเตา A หรือ เตา 600 (Fuel oil 600, 2%sulphur)
เป็นน้ำมันเตาที่มีคุณภาพสูง มีความหนืดต่ำ ทำให้สะดวกในการใช้งาน เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กและธุรกิจอื่นๆ เช่น โรงแรมหรือ โรงพยาบาล ในเขตชุมชน ฯลฯ เป็นต้น เนื่องจาก สามารถเผาไหม้ได้สมบูรณ์ และมีเขม่าต่ำ

2. น้ำมันเตาชนิดที่ 2 หรือเตา C หรือ เตา 1500 (Fuel oil 1500, 2%sulphur)
เป็นน้ำมันเตาที่มีความหนืดปานกลาง เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ ที่มีระบบการเผาไหม้และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเป็นเชื้อเพลิงที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด และมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเตาชนิดที่ 1 (เตา A)

3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (High Speed Diesel)
และน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel: B5) เหมาะสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็ว ซึ่งมีความเร็วรอบสูงกว่า 1,000 รอบต่อนาที เช่น รถขนส่ง รถบรรทุก รถไฟ และรถปิกอัพ รวมถึงการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น Boiler หรือ Direct Burn (เผาตรง)

4. ก๊าซหุงต้ม (Liquefied petroleum gas) สำหรับภาคอุตสาหกรรม
สำหรับภาคอุตสาหกรรมเป็นก๊าซเหลวภายใต้ความดัน ซึ่งประกอบด้วยโพรเพนและบิวเทนผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ผลิตได้จากกระบวนการกลั่นแยกก๊าซธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซฯ หรือจากกระบวนการกลั่นน้ำมันในโรงกลั่นผลิตภัณฑ์ก๊าซหุงต้มของ ปตท. เป็นก๊าซหุงต้มที่มีคุณภาพสูง สะอาด เนื่องจากมีสัดส่วนของโพรเพน (C3) สูงมากกว่าบริษัทอื่น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและสิ่งสกปรกกับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องจักร เนื่องจากเป็นก๊าซหุงต้มที่ได้จากกระบวนการกลั่นจากโรงแยกก๊าซฯ เป็นหลัก

5. ก๊าซโพรเพน (Propane gas)
เป็นก๊าซที่ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ใช้ในกระบวนการเผาไหม้ที่ต้องการความร้อนสูงและควบคุมค่าความร้อนได้คงที่ตัวอย่างเช่น การใช้ในโรงงานผลิตหลอดภาพโทรทัศน์ เป็นต้น

6. น้ำมันหล่อลื่นยานยนต์ (Automotive lubricants)

7. น้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรม (Industrial lubricants)

8. น้ำมันหล่อลื่นชนิดพิเศษ (Special lubricants)

9.ผลิตภัณฑ์พิเศษ (Special Products)

9.1 ยางมะตอย (Asphalt) เป็นสารผสมประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดและสารอินทรีย์อื่นๆ เรียกรวมว่า สารบิทูเมน ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวข้นหรือเป็นกึ่งของแข็งสีน้ำตาลแก่ถึงสีดำ ปัจจุบัน ปตท. มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางมะตอยเกรด AC 60/70 ซึ่งเป็นเกรดมาตรฐานที่ใช้ในประเทศไทยโดยมีใบรับรองคุณภาพ (Certificate) จากหน่วยงานราชการ

9.2 คอนเดนเสท (Condensate)

9.3 น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Base Oil) เป็นวัตถุดิบสำหรับนำใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งปัจจุบัน PTT Group เป็นผู้ผลิต Base Oil รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

9.4 กำมะถัน (Sulphur)

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on เชื้อเพลิงอุตสาหกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมไทย

วิกฤตการณ์น้ำมันเป็นบทเรียนที่สำคัญในหลายประเทศ

น้ำมันเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดหนึ่งซี่งมีการแข่งขันสูง การเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายของผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดน้ำมัน จึงทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปรับราคาให้สามารถแข่งขันกันได้ ดังนั้นราคาน้ำมันที่เหมาะสมเพื่อใช้อ้างอิงจึงควรจะกำหนดมาจากความต้องการและความสามารถในการผลิต ภายใต้กลไกระบบการค้าเสรีของกลุ่มตลาดซื้อขายน้ำมันที่อยู่ใกล้เคียงกัน คล้ายกับสินค้าทางการเกษตร สำหรับศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค ก็คือ อเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยที่ตลาดกลางการซื้อขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์ จึงเลือกที่จะอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดสิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนระดับราคาที่สมดุลกับกลไกระบบการค้าเสรีของตลาดในภูมิภาคนี้

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันเมื่อปี พ.ศ. 2516 หลายๆประเทศได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับบางประเทศถือว่าเป็นประเด็นปัญหาในช่วงสั้นๆที่เกิดวิกฤตเท่านั้น แต่สำหรับบางประเทศกลายเป็นปัญหาในการจัดการพลังงานให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันไม่ใช่ประเทศผู้นำเข้าพลังงานเพียงฝ่ายเดียวที่จะต้องคำนึงถึงการจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงเท่านั้น แม้แต่ประเทศผู้ส่งออกพลังงานหลายๆประเทศก็เริ่มห่วงใยถึงอนาคตว่า สักวันหนึ่งประเทศของตนอาจกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานก็ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีความร่วมมือทั้งจากภาครัฐบาลและเอกชนในระดับประเทศ รวมไปถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อช่วยเหลือและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานซึ่งกันและกัน

ประเทศไทยอยู่ในสถานะเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงาน ดังนั้นความมั่นคงด้านพลังงานจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ การเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันและวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันเป็นบทเรียนที่สำคัญที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพลังงานของประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืน มาตรการในการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพลังงานโดยลดการใช้น้ำมันลงและเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น จะมีส่วนช่วยเสริมการแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานของประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืนได้มาก การพึ่งพาพลังงานต้องให้ความสำคัญกับการกระจายชนิดและแหล่งของพลังงาน เพราะการพึ่งพาพลังงานชนิดเดียวมากเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยง โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ถ่านหินเป็นทางเลือกเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งที่มีปริมาณสำรองมาก มีความมั่นคง ราคาต่ำและมีเสถียรภาพมากกว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on วิกฤตการณ์น้ำมันเป็นบทเรียนที่สำคัญในหลายประเทศ

เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะมาช่วยอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซให้ประสบความสำเร็จ

ประเทศไทยมีการจำกัดการผลิตและสำรองน้ำมันภายในประเทศ ดังนั้นการนำเข้าน้ำมันจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะมีการสำรองก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก แต่การผลิตก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีกทั้งการผลิตน้ำมันของไทยถึงจะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าการบริโภค โดยที่ 80% ของการผลิตน้ำมันของประเทศมาจากแถบอ่าวไทย

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันจะต้องใช้ท่อลำเลียงน้ำมันมูลค่าหลายล้านล้านดอลล่าร์มาเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นความท้าทายที่อุตสาหกรรมจะต้องเอาชนะต่ออุปสรรคทั้งหลายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ สภาพแวดล้อมของภูมิประเทศไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบของธุรกิจ และนี่คือ 4 เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะมาช่วยอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซให้ประสบความสำเร็จด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการวางแผนโครงสร้างเงินทุน การออกแบบ การสร้างและการจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1.เรียลลิตี้คอมพิวติ้ง – ด้วยเรียลลิตี้แคปเจอร์ผสมกับสภาพแวดล้อมจริง เทคโนโลยีได้ลดช่องว่างระหว่างความเป็นจริงและโลกดิจิตอลให้ใกล้กันยิ่งขึ้น สองกุญแจสำคัญของเรียลคอมพิวติ้ง คือ เรียลลิตี้แคปเจอร์และการเพิ่มความแม่นยำของสภาพแวดล้อมแบบดิจิตอล โดยอย่างแรก เรียลลิตี้แคปเจอร์ เป็นกระบวนการใช้ภาพถ่ายดิจิตอล LIDAR เลเซอร์สแกนและดาต้าเซ็ทแคปเจอร์อื่นๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นภาพของสภาพแวดล้อมจริง เพื่อช่วยสร้างโปรเจคโมเดล 3 มิติ ซึ่งเป็นการเปิดประตูไปสู่การสร้างแบบจำลองบนความเป็นจริงด้วยการจับภาพที่แม่นยำจากสิ่งที่มีอยู่ อีกอย่างคือ ความก้าวหน้าในด้านความแม่นยำของสิ่งแวดล้อมดิจิตอล คอมพิวเตอร์อินเตอร์เฟซจะมีความสามารถในการจำลองภาพที่เหนือกว่า ซึ่งจะช่วยเร่งผลผลิต ปรับปรุงการสื่อสารในโครงการขนาดใหญ่และช่วยเร่งกระบวนการเรียนรู้ให้แก่พนักงานใหม่ และช่วยให้การตัดสินใจต่อปัญหาต่างๆ เป็นไปด้วยความมั่นใจ

2.คลาวด์คอมพิวติ้ง – คลาวด์จะมาทดแทนความสามารถที่จำกัดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการนำอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของระบบไปสู่ทุกคนได้ตามต้องการแบบเรียลไทม์ ในทุกสถานที่และทุกๆ ดีไวซ์ ปัจจุบันอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซได้มีขนาดใหญ่ขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวกันความท้าทายทางธุรกิจและการออกแบบก็ได้เพิ่มความยากซับซ้อนตามมาเช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่บานปลายในโปรเจคด้วยการปรับปรุงกระบวนการ Front End Loading โดยจะช่วยลดต้นทุนผ่านการออกแบบที่มีประสิทธืภาพมากกว่าเดิม ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมประสบความสำเร็จ

3.การผลิตแบบดิจิตอล
– การพิมพ์ 3 มิติ การลดการผลิตด้วยการควบคุมเชิงตัวเลขโดยคอมพิวเตอร์ (CNC-based subtractive fabrication) การจำลองแบบ FDM สำหรับเทอร์โมพลาสติกและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จะช่วยลดขั้นตอนการในการเปลี่ยนแบบจำลองชิ้นส่วนสำหรับสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานน้ำมันและก๊าซบนคอมพิวเตอร์หลากหลายขั้นตอนไปเป็นแค่ขั้นตอนเดียว การผลิตสมัยใหม่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากการผลิตแบบแมส โดยทั่วไปแล้วการผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนและมีความเป็นเอกลักษณ์จะหมายถึงราคาสูงที่ตามมาด้วย ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงเกินไปหากผลิตสินค้าที่สามารถขายได้ในระยะสั้นเมื่อเทียบกับสินค้าที่ผลิตด้วยวัสดุตามมาตรฐานทั่วไป แต่เทคโนโลยีการผลิตและกระบวนการแบบดิจิตอลจะนำเราไปสู่จุดเปลี่ยนของกระบวนทัศน์ที่เราเชื่อกันมานาน จะเป็นอย่างไรหากเราสามารถพิมพ์ส่วนประกอบโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเพื่อเปลี่ยนการดำเนินการก่อสร้าง หรือเปลี่ยนมาตรฐานเดิมๆ ของอุตสาหกรรมมาใช้ส่วนประกอบที่ดีที่สุด เหมาะกับแต่ละงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือหากเราสามารถพิมพ์วาล์วซีลของแท่นขุดเจาะน้ำมันออกมาเป็นอะไหล่ได้เอง

4.โซเชียลและโมบายคอมพิวติ้ง – ระบบดิจิตอลได้ช่วยลดช่องว่างระหว่างบุคคล นำมาซึ่งหนทางใหม่ในการร่วมมือท่ามกลางภารกิจอันซับซ้อน และช่องทางใหม่ในการเข้าถึงผู้คนที่มีความสามารถได้อย่างง่ายดาย ทั้งเทคโนโลยีจากโซเชียลมีเดียและอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนในการค้นหาบุคลาการที่มีความสามารถได้ แม้ว่าปัญหาด้านแรงงานฝีมือจะยังสร้างความท้าทายต่ออุตสาหกรรมโครงการขยายท่อลำเลียงน้ำมันอย่างต่อเนื่อง แต่เทรนดิจิตอลเหล่านี้จะช่วยในการค้นหาฐานข้อมูลผู้มีความรู้ความสามารถจากทั่วโลก แทนที่จะจำกัดอยู่เพียงแค่พื้นที่ที่ใกล้กับบริษัทเท่านั้น

Posted in ธุรกิจ | Tagged , | Comments Off on เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะมาช่วยอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซให้ประสบความสำเร็จ

การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร

การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา ส่วนผสมเพื่อแต่งกลิ่นในสินค้าอุปโภค เช่น ขนมขบเคี้ยว ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง(น้ำหอม และสิ่งปรุงแต่งสำหรับผม) ความต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจสินค้าประเภทตกแต่งกลิ่นจากสารสกัดจากธรรมชาติมากขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารตกแต่งกลิ่นสังเคราะห์โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง และมีการใช้น้ำมันหอมระเหยในหลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบมีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าจับตามอง แม้ว่าในปัจจุบันไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์ แต่การขยายตัวของการส่งออกน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์ของไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมานี้อยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากตลาดน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์เป็นตลาดเฉพาะ นับว่ายังเป็นโอกาสของไทยในการเจาะโลก และผลักดันให้น้ำมันหอมระเหยของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันน้ำมันหอมระเหยได้จากการสกัด/สังเคราะห์จากพืชหรือสัตว์ ซึ่งในปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 3,000 ชนิด อย่างไรก็ตามมีน้ำมันหอมระเหยเพียง 200-300 ชนิดเท่านั้นที่มีการค้ากันอย่างกว้างขวางในตลาดโลก โดยน้ำมันหอมระเหยที่มีการผลิตและการค้าในตลาดโลกนั้นร้อยละ 50 ผลิตมาจากพืชที่มีการปลูกในเชิงพาณิชย์ ส่วนที่เหลือเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมและเก็บจากพืชพรรณป่า โดยน้ำมันหอมระเหยที่มีการผลิตและการค้ากันอย่างกว้างขวางในตลาดโลก 10 ประเภทแรกนั้น (น้ำมันหอมระเหยจากพืชตระกูลส้ม, Cornmint, ยูคาลิปตัส, Peppermint, เลมอน, ไม้ซีดาร์ ฯลฯ) ครองส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ส่วนตลาดอีกร้อยละ 20 นั้นเป็นน้ำมันหอมระเหยอีกประมาณ 150 ชนิด ประเภทของน้ำมันหอมระเหยที่มีบทบาทสำคัญในการค้าในตลาดโลกที่น่าสนใจ คือ น้ำมันหอมระเหยจากพืชตระกูลส้มโดยมีการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยประเภทนี้กันอย่างมากในสหรัฐฯ บราซิล และเม็กซิโก ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่มีความสำคัญรองลงมาคือ มินต์(Mint) ซึ่งน้ำมันมินต์ที่นิยมในตลาดโลกมีอยู่ 3 ชนิด คือ Peppermint, Spearmint, Cornmint ซึ่งมินต์สองชนิดแรกมีการผลิตมากในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม Peppermint มีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากกว่า ส่วน Cornmint นั้นมีการผลิตมากในจีน อินเดีย และประเทศแถบอเมริกาใต้ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะนาว มีการใช้มากในอุตสาหกรรมสบู่ มีการผลิตมากในจีน อินเดีย และประเทศแถบอเมริกาใต้ เนื่องจากประเทศในแถบนี้มีค่าแรงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และน้ำมันยูคาลิปตัสมีการผลิตมากในออสเตรเลีย บราซิล จีน และประเทศในแถบแอฟริกาใต้ และน้ำมันไม้ซีดาร์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในตลาดในประเทศแถบอเมริกาเหนือ เนื่องจากเป็นผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมไม้ อย่างไรก็ตามอินโดนีเซียก็มีการผลิตน้ำมันประเภทนี้มากเช่นกัน

Posted in ธุรกิจ | Comments Off on การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร

การทำธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเพื่อช่วยเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพ

ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันราวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกพืชเมล็ดน้ำมัน (oilseed) ทั่วโลกกว่า 254 ล้านเฮกเตอร์ทั่วโลก แต่สามารถสร้างผลผลิตได้ราวร้อยละ 14 ของผลผลิตน้ำมันจากพืชทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศมาเลเซียในการพัฒนาการเกษตรให้ได้ผลิตผลต่อไร่สูง นอกจากนี้ มาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ลำดับที่ 2 ของโลก ยังมีสองบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในธุรกิจปาล์มน้ำมัน ได้แก่ Sime Darby และ FELDA ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านปาล์มที่ใหญ่ที่สุดสองรายแรกของโลกด้วย

ความน่าสนใจของ FELDA คือการสร้างแหล่งปลูกปาล์มโดยที่เกษตรกรมีส่วนร่วมอย่างมาก FELDA เป็นของรัฐบาล และแรกเริ่มจัดตั้งในช่วงทศวรรษ 1960 โดยมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นการจัดสรรเนื้อที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่มีรายได้น้อยและอาศัยอยู่ในชนบท จะได้มีเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมัน หรือพืชยางพารา (ใช้เนื้อที่ราวร้อยละ 80 สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และร้อยละ 10 สำหรับปลูกพืชยางพารา) โดยเกษตรกรราว 400 – 450 ครอบครัว จะได้รับการจัดสรรให้อยู่ในแหล่งทำกินหนึ่งๆ (estate) โดยแต่ละครอบครัว จะได้รับเนื้อที่ราว 25 – 35 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก และได้รับเนื้อที่ราว 1.5 ไร่เพื่อใช้อยู่อาศัย ซึ่งบ้านได้ถูกสร้างโดย FELDA ไว้แล้ว โดยชุมชนที่อยู่อาศัย ได้มีการจัดวางระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบชลประทาน รวมถึงโรงเรียนและโรงพยาบาลไว้พร้อม ส่วนการดำเนินงานของชุมชนนั้น อยู่ในรูปแบบของสหกรณ์ที่มีเกษตรกรมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง โดยต้นทุนในการพัฒนาที่ดินและแปลงการเกษตรราวกึ่งหนึ่ง จะถูกจัดเก็บจากเกษตรกรเป็นระยะเวลา 15 ปีนับตั้งแต่จัดตั้ง

FELDA สนับสนุนให้เกษตรกรทำการเพาะปลูก และรับซื้อผลผลิตทั้งหมดไปแปรรูปในโรงงานของ FELDAเพื่อสกัดทำน้ำมันปาล์ม หรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ ด้วย โดยการรับซื้อผลผลิตดังกล่าวสร้างกระแสรายได้ที่ต่อเนื่องให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ FELDA ยังให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อช่วยเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพของผลผลิต  และมีการใช้เครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต โดยเครื่องมือต่างๆ สามารถหาซื้อและใช้ร่วมกันในแหล่งทำกินได้ เนื่องจากแปลงเพาะปลูกมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะลงทุนในการซื้อเครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ ทำให้แปลงเพาะปลูกของ FELDA สามารถสร้างผลิตผลปาล์มต่อไร่ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงได้การจัดรูปแบบการทำการเกษตรของ FELDA มีความแตกต่างจากการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรอาจไม่ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่พอ เพื่อลงทุนด้านเครื่องจักรกล และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรร่วมกัน ทำให้ผลิตผลปาล์มน้ำมันเฉลี่ยของ FELDA อยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศไทยราว 11% ในปี 2011 โดยผลผลิตไทยอยู่ที่ 2,876 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ FELDA สามารถสร้างผลผลิตได้ที่ 3,184 กิโลกรัมต่อไร่

Posted in ธุรกิจ | Comments Off on การทำธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเพื่อช่วยเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพ

ทิศทางการส่งออกน้ำมันและก๊าซจากไทยไปต่างประเทศ

ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีความต้องการในการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทของน้ำมันและผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแปรรูปน้ำมันดิบ ดังนั้นจึงมีบริษัทธุรกิจการค้าต่างประเทศเกิดขึ้นมากมาย เช่น บริษัท ปตท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ที่มีการลุงทุนในโรงกลั่นของประเทศไทย ที่สร้างความมั่นคงและรักษาสมดุลทางพลังงาน เช่น การนำเข้าก๊าซ LPG ส่วนที่เกินจากกำลังการผลิตภายในประเทศเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ยังส่งออกน้ำมันก๊าซที่เกินจากความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยต้องมีการติดตามอยู่เสมอ ในด้านภาคธุรกิจเองจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงราคาท่ามกลางสภาวะตลาดน้ำมันที่มีผันผวนสูง เพื่อผลักดันให้การส่งออกมีมูลค่าสูงสุด นอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูป ยังแสวงหาโอกาสในการเป็นตัวกลางในการทำการค้ากับตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ ยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ ความชำนาญ เพื่อก้าวไปสู่ตลาดสากลในอนาคต ปัจจุบันนี้จึงมีเครือข่ายและพันธมิตรการค้าอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก

อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของไทยจะมีการขยายตัวเรื่อยๆในอนาคต โดยมีปัจจัยหลายๆด้านเป็นตัวสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตามประเทศยังต้องอาศัยการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศถึงแม้ว่าไทยจะมีตลาดน้ำมันที่แข็งแกร่งก็ตาม นอกจากนี้นักวิชาการยังยืนยันว่าไทยจะมีศักยภาพมากขึ้น เนื่องจากมีการสร้างโรงกลั่นมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ๆในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันยังมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับด้านการผลิตโดยเฉพาะ รวมทั้งไทยยังมีเครือข่ายกับผู้นำด้านอุตสาหกรรมในต่างประเทศ ทำให้ไทยมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาและปัญหาต่างๆได้อย่างดี

นอกจากนี้คนในประเทศเองต้องตะหนักถึงความสำคัญในการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ถือเป็นสิ่งมีค่าของเราทุกคน อีกทั้งความต้องการพลังงานมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกๆปี ในขณะที่พลังงานมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นไม่แม้แต่ภาคธุรกิจเท่านั้นที่ต้องใช้พลังงานให้คุ้มค่า ทางด้านผู้บริโภคเองก็ต้องตระหนักว่าจะทำอย่างไรถึงจะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานของชาติให้เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ทิศทางการส่งออกน้ำมันและก๊าซจากไทยไปต่างประเทศ

ความสำคัญและการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยในปัจจุบัน

4

จากการเปิดเผยผลการประเมินตำแหน่งตลาดสินค้าเกษตร 4 ชนิดของไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน (AEC) ของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งพบว่าภายใน 5 ปีนับจากปี 2553 จนถึงปี 2558 สินค้าเกษตรของไทยที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนประกอบด้วยข้าว กาแฟ และน้ำมันปาล์ม ส่วนมันสำปะหลังไทยจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้นสินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า ราคาจำหน่ายผลปาล์มและน้ำมันปาล์มดิบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาก แต่ผลผลิตปาล์มของไทยกลับมีคุณภาพต่ำกว่า เพราะสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้น้อยกว่า

ในความเป็นจริง การขาดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นักวิชาการได้สะท้อนปัญหานี้มาเป็นเวลานานแล้ว งานวิจัยของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงเป็นการย้ำเตือนถึงปัญหานี้และนำเสนอหลักฐานในเชิงประจักษ์ที่สะท้อนความรุนแรงของปัญหานี้

ผมเองได้เขียนหนังสือ ‘เศรษฐกิจกระแสกลาง: ทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคต’เมื่อปี 2543 หรือกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบุว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเป็นตัวอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน แต่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยต้องเปิดเสรีมากขึ้นและเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ผมจึงได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมว่า สินค้าที่แข่งขันไม่ได้ควรเลิกผลิตไปเลย แต่หากเห็นว่าเป็นสินค้าที่เป็น ‘ปัจจัยอยู่รอด’มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารหรือพลังงานของประเทศและไม่มีสินค้าอื่นที่ทดแทนได้ดีกว่า ก็ควรเร่งพัฒนาในมีความสามารถในการแข่งขัน

แต่ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข รัฐบาลไม่มีทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจนในระยะยาว ไม่มีแผนการเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอนาคต อุตสาหกรรมนี้ได้รับการปกป้องจากรัฐจนขาดการพัฒนาที่รวดเร็วเพียงพอ แตกต่างจากประเทศมาเลเซียที่มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน มีแผนการดำเนินงาน และความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มอย่างเป็นระบบ

น้ำมันปาล์มกลายเป็นสินค้าการเมือง การส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทยจึงเป็นไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง โดยเน้นไปในทิศทางการเพิ่มปริมาณการผลิตตามแรงผลักของสถานการณ์ แต่ไม่ใคร่ให้ความสนใจด้านคุณภาพ สังเกตได้จากการส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เช่น การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงาน การจำกัดการนำเข้า การกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มขั้นต่ำ (floor price) การชดเชยให้ผู้ผลิตจำหน่ายน้ำมันปาล์มในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ความสำคัญและการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยในปัจจุบัน